ไฟฟ้าสถิต (Static electricity)
ไฟฟ้า เป็นปรากฏการณ์อันเนื่องมาจากการมีอยู่ หรือการเคลื่อนที่ของอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า
(อิเล็กตรอนหรือไอออน) อนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าเหล่านี้มีแรงกระทำต่อการเรียกว่า แรงไฟฟ้า วัสดุที่มีอิเล็กตรอน
เกินจะมีประจุไฟฟ้าลบ วัสดุที่ขาดอิเล็กตรอนจะมีประจุไฟฟ้าบวก กระแสไฟฟ้า เิกิดขึ้นเนื่องจากการเคลื่อนที่
ของอิเล็กตรอนในวัสดุ ส่วนไฟฟ้าสถิต นั้นเกี่ยวข้องกับประจุไฟฟ้า เมื่ออยู่กับที่
กฏข้อที่ 1 ของไฟฟ้าสถิต (First Law of electrostatics)
ประจุไฟฟ้าชนิดเดียวกันผลักกัน ส่วนประจุไฟฟ้าต่างชนิดกันดูดกัน อนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าจะ
ดูดอนุภาคที่ไม่มีประจุไฟฟ้าโดย การเหนี่ยวนำ
ตัวนำ (Conductor) วัตถุที่มีอิเล็กตรอนจำนวนมาก ซึ่งเคลื่อนที่อย่างอิสระ
ดังนั้นตัวนำจึงให้กระแสไฟฟ้า โลหะเป็นตัวนำที่ดี เช่น ทองแดง อลูมิเนียม และทองคำ
ฉนวน(Insulator) วัตถุที่มีอิเล็กตรอนอิสระในการเคลื่อนที่น้อยมากหรือไม่มีเลย
(เป็นตัวนำที่ไม่ดี) ฉนวนบางชนิดมีประจุไฟฟ้าเกิดขึ้นเมื่อถูกถู เนื่องจากอิเล็กตรอนในอะตอมที่ผิวของวัตถุ
เคลื่อนที่จากวัตถุหนึ่งไปยังอีกวัตถุหนึ่งแต่ประจุไฟฟ้าจะยังคงอยู่ที่ผิววัตถุนั้น
อิเล็กโทรสโคป (Electroscope) เครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบประจุไฟฟ้าจำนวนน้อยๆ
อิเล็กโทรสโคปที่มีใช้ทั่วไปเป็นแบบแผ่นทองคำ เมื่อแผ่นทองคำและแท่งโลหะมีประจุไฟฟ้าจะผลักกัน แผ่น
ทองคำจะกางออก เมื่อมีประจุไฟฟ้ามากแผ่นทองคำก็จะกางออกมาก อิเล็กโทรสโคปที่มี ตัวเก็บประจุ
ระหว่างแป้นกับกล่องจะช่วยให้มความไวมากขึ้น
การเหนี่ยวนำ หรือการเหนี่ยวนำไฟฟ้าสถิต (Induction) เป็นวิธีการทำให้ตัวนำ
มีประจุไฟฟ้าโดยใช้ประจุไฟฟ้าจากวัตถุอื่น ซึ่งไม่แตะกัน ปกติแล้วประจุไฟฟ้าจะถูกเหนี่ยวนำตามส่วนต่างๆ
ของวัตถุเนื่องจากการดึงดูดและผลักกัน ถ้าเคลื่อนประจุชนิดหนึ่งออกไป วัตถุนั้นจะมีประจุไฟฟ้าชนิดตรงข้าม
คงอยู่อย่างถาวร
แผ่นประจุ(Proof plane) เป็นแผ่นตัวนำเล็กๆมีด้ามถือทำด้วยฉนวน ใช้สำหรับ
ถ่ายโอนประจุไฟฟ้าระหว่างวัตถุต่างๆ
ความหนาแน่นประจุ(Surface density) หมายถึงประจุไฟฟ้าต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่
บนผิววัตถุความหนาแน่นประจุจะมากถ้าผิวโค้งมาก และที่ส่วนแหลมของผิวจะมีประจุไฟฟ้าหนาแน่นมาก
วัตถุทรงกลมมีความหนาแน่นประจุคงที่
กิริยาที่ปลายแหลม(Point action) เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นรอบๆ ปลายแหลม
ที่ผิวของวัตถซึ่งมีประจุไฟฟ้าบวก ไอออนบวกในอากาศจะถูกผลักโดยประจุไฟฟ้าบวกที่ปลายแหลม ให้เคลื่อนที่
ไปชนโมเลกุลของอากาศและทำให้มีอิเล็กตรอนกระเด็นออกไปเป็นการเพื่มประจุขึ้นอีกและถูกผลักออกไป มีผล
ให้เกิดลมไฟฟ้าของโมเลกุลอากาศ
ฟ้าแลบ(Lightning) เป็นปรากฏการที่เกิดขึ้นเนื่องจากการไหลอย่ารวดเร็วของ
ไฟฟ้้าจากก้อนเมฆซึ่งมีประจุไฟฟ้า เกิดขึ้นเนื่องจากการเสียดสีกันระหว่างนำ้้้้็้้้้้้้้และโมเลกุลของอากาศ สาย-
ล่อฟ้า ใช้สำหรับลบล้างประจุไฟฟ้าบนก้อนเมฆโดย กิริยาที่ปลายแหลม ซึ่งนำประจุไฟฟ้าลงดินป้องกันไม่ให้
ผ่านสิ่งก่อสร้าง ฟ้าแลบมีลักษณะเช่นเดียวกับ หลอดปล่อยประจุ
เครื่องกำเนิดประจุไฟฟ้า แวนเดอ กราฟ (Van de Graaff generator)
เป็นเครื่องมือที่ผลิตประจไฟฟ้าจาก พลังงานกล สายพานที่เคลื่อนที่จะรวบรวมประจุทั้งการเสียดสี และจาก
แหล่งประจุไฟฟ้าคืน และเก็บสะสมไว้บนตัวนำ
อิเล็กโทรฟอรัส(Electrophorus) เป็นอุปกรณ์ที่ประกอบด้วย ฉนวน ที่มีประ
จุลบและแผ่นทองเหลืองที่มีด้ามเป็นฉนวน ใช้สำหรับสร้างประจุไฟฟ้าบวกจำนวนมากจากประจุไฟฟ้าลบ
เพียงประจุเดียว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น